.

.

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่ 16 27/09/56
 ในสัปดาห์นี้เป็นการเรียนสัปดาห์สุดท้ายของวิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย อ.โบว์ จึงให้นักศึกษาทุกคนทำ มายแมพ สรุปองค์ความรู้ของวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยว่า ได้ความรู้อะไรบ้าง 
- ทำให้รู้การจัดมุมประสบการณ์ทางภาษาที่สนันสนุนการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะทางภาษา เช่น มุมหนังสือ  มุมบทบาทสมมุติ  มุมศิลปะ  มุมดนตรี เป็นต้น
- ทำให้รู้ถึงการจัดลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา เช่น มีพื้นที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่เพียงพอ  บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์ เช่น ดินสอ สี กาว กระดาษ
- ทำให้รู้ถึงหลักการและความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก คือ ส่งเสริมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง
- ทำให้รู้ถึงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับกาใช้ภาษาอย่างมีความหมาย โดย เน้นสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก 

สรุปองค์ความรู้ วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

วันศุกร์ตอนเช้า เวลา08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่15 20/09/56
ในสัปดาห์นี้ อ.โบว์ ให้นักศึกษาดูวิดีโอโทรทัศน์ครู ที่เกี่ยวกับการวางแผนจัดประกบการณ์ทางภาษาให้แก่เด็กปฐมวัย ของ ดร.วรนาท รักสกุลไทย แล้วจากนั้น อ.โบว์ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ช่วยกันระดมความคิดให้ทำแผนการจัดประสบการณ์มาคนละ 1 เรื่อง ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ทำเรื่อง ดอกทานตะวัน จุดประสงค์เพื่อให้เด็กได้รู้จักส่วนต่างๆของดอกทานตะวัน 


แผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง ดอกทานตะวันแสนสวย




วันศุกร์ตอนเช้า เวลา 08.30-12.20 น.

สัปดาห์ที่ 14 13/09/56
ในสัปดาห์นี้ อ.โบว์ ได้ให้ดูเกี่ยวกับการจัดมุมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของต่างประเทศและไทย ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เช่น มุมหนังสือ มุมศิลปะ มุมบทบาทสมมุติ เป็นต้น และในชั่วโมง อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน คิดมุมการเรียนรู้ที่สอนทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมาแล้วออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้คิดมุมการเรียนรู้ 2 มุม คือ มุมศิลปะและมุมภาษาอังกฤษ

ภาพการคิดมุมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

      เหตุผลที่ทำมุมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษก็อยากจะให้เด็กๆได้รู้ถึงคำศัพท์ของภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่าเด็กในวัยนี้ยังอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก แต่เด็กก็สามารถจำภาพได้ ซึ่งเมื่อเด็กได้เห็นภาพบ่ิอยๆเด็กก็จะสามารถจำคำศัพท์ได้และรู้ว่าภาพแบบนี้ภาษาอังกฤษเขียนอย่างนี้
      ส่วนมุมศิลปะก็เพื่อส่งเสริมทักษะของเด็กคือ การพูดคุยสนทนากันระหว่างตัวเด็กกับเด็ก เช่น การเล่านิทานกันเอง การเล่นบทบาทสมมุติ และ การพูดคุยสนทนาระหว่างเด็กกับครู เช่น ครูอาจจะเล่านิทานให้เด็กฟัง แต่ทุกมุมการเรียนรู้ต้องให้เด็กได้มีส่วนรวมในการทำกิจกรรมทุกครั้ง

วันศุกร์เช้า เวลา 08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่ 13 6/09/56
  ในสัปดาห์นี้ อ.โบว์ สอนเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และ หลักการความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อม มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา เช่น
-มุมหนังสือ : มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆ มีพื้นที่ในการอ่านลำพังและเป็นกลุ่ม
-มุมบทบาทสมมุติ : มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้ มีพื้นที่เพียงพอ
-มุมศิลปะ : จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น ดินสอ สี กรรไกร กาว
-มุมดนตรี : มีเครื่องดนตรีที่เป็นของเล่นและของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง 
และในท้ายชั่วโมง อ.โบว์ ให้นักศึกษาทุกคน คัดลายมือ ก-ฮ ตามแบบที่ให้มา เพื่อฝึกให้เราเขียนภาษาไทยได้ถูกต้องและสวยงาม เพราะการที่เราจะเป็นครูปฐมวัยต้องมีลายมือที่สวยงามเพื่อสะดวกต่อการที่เด็กได้จดจำและเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องให้แก่้เด็กอีกด้วยคะ

คัดไทย ก-ฮ 


วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์เช้า 08.30-12.20 น.

สัปดาห์ที่ 12 30/08/56
ในสัปดาห์นี้อ.โบว์ ได้สอนการทำสื่อที่สอนเด็กอนุบาล โดยเน้นพัฒนาการทางด้านภาษา แล้วจับกลุ่มๆละ 6-7 คน ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ทำ          เกมถอดรหัสคำ 


ซึ่งเกมการถอดรหัสคำนี้จะเชื่อมโยงกับทฤษฎีของบรูเนอร์ คือ การเรียนรู้จากความคิด Iconic Stage การที่เด็กสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้ เด็กได้สามารถฝึกการพูดออกมาเป็นคำๆ คำหนึ่งมารวมกับอีกคำหนึ่งก็จะกลายเป้นคำใหม่เกิดขึ้นมา ความหมายก็จะต่า่งกันไป
ประโยชน์การนำไปใช้
1.ฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต
2.ฝึกให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะทางภาษา โดยการเชื่อมคำจากภาพ
3.ฝึกให้เด็กรู้จักคิดและการเชื่อมโยง แล้วจึงเกิดเปนคำใหม่
วิธีการเล่น 
1.เหมา้ะสำหรับเด็ก อายุ 4-6 ปี
2.ควรมีผู้ใหญ่ให้คำแนะนำถึงวิธีการเล่นของเกทถอดรหัสคำ
3.นำภาพแต่ละภาพมาวางต่อกันเพื่อให้เกิดคำใหม่
4.ควรให้เด็กได้ท่องจำหรือฝึกการเขียนตามรอยปะ 

วันศุกร์เช้า 08.30-12.20

สัปดาห์ที่11 23/08/56
ในสัปดาห์นี้ อ.โบว์ สอนเรื่องสื่อการเรียนรู้ทางภาษา คือ ประเภทของสื่อการสอน
1.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น บัตรคำ บัตรภาพ หนังสือนิทาน เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
2.สื่อวัสดุึอุปกรณ์ เช่น สิ่งของต่างๆ ของจริง หุ่นจำลอง 
3.สื่อโสตทัศนูปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ วิทยุ แทปแล็ต 
4.สื่อกิจกรรม เช่น โดมิโน ต่อจิ๊กซอ เกม เพลง 
5.สื่อบริบท เช่น สภาพแวดล้อม ห้องเรียน ชุมชน 
แล้่วอาจารยืให้ฟังเสียงสัตว์ต่างๆแล้วทายว่าเสียงนั้นคือสัตว์อะไร ได้แก่ แมว ไก่ วัว ม้า เป็ด แพะ 
ในทายชั่วโมงอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรม คือ ปฏิทินคำศัพท์
ปฏิทินคำศัพท์ 

เป็นสื่่อที่ช่วยพัฒนาการของเด็กทางด้านสติปัญญาและทางด้านภาษา ให้เด็กได้รู้จักท่องจำคำศัพท์

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20 น.

สัปดาห์ที่ 10 16/8/56
 ในสัปดาห์นี้อาจารย์ประจำวิชาให้อาจารย์พิเศษมาสื่อแทน ซึ่งอาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน  แล้วทำสื่อ  สื่อที่มำในวันนี้คือ หุ่นนิ้วมือ  ป๊อบอั๊บ  ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับเรื่องของประเทศในอาเซียนเพื่อให้เด็กๆได้รู้จัก 10 ประเทศในอาเซียนคะ

ภาพกิจกรรมทำสื่อ หุ่นนิ้วมือ กับ ป๊อบอั๊บ 








 ความรู้ที่ได้ในวันนี้ คือ ได้ความรู้จากการทำสื่อ หุ่นนิ้วมือ และ การทำป๊อบอั๊บ มีวิธีการทำที่หลากหลาย ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการทำสื่อ สามารถไปใช้ในชีวิตประจำวันใรการสอนเด็กปฐมวัย เล่านิทาน บอกถึงธงชาติของ 10 ประเทศอาเซียน หรือแม้กระทั่งนำไปสอนน้องๆหลานๆที่บ้านได้เพื่อสร้างความรักความผูกพันให้กับคนในครอบครัวได้อีกด้วยคะ และยังเป็นงานเสริมยามว่างได้คะ สามารถทำจำหน่ายได้คะ