.

.

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่ 7  26/07/56
ในสัปดาห์ที่อาจารย์ได้ออกไปร้องเพลงของแต่ละภาคที่นักศึกษาเตรียมมา ซึ่งดิฉันเป็นตัวแทนของภาคกลาง คือ
 เพลง นอนไปเถิด
นอนไปเถิดแม่จะกล่อม      นวลละม่อมแม่จะไกว
ทองคำแม่อย่าร่ำไห้           สายสุดใจเจ้าแม่เอย
และอาจารย์ให้ฟังเพลง เกาะสมุย แล้วเชื่อมโยงไปในบทเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านภาษาและสติปัญญาของเด็กปฐมวัยว่า ในช่วงอายุเท่าไหร่ๆจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร สังเกตได้จากพฤติกรรมของเด็ก แล้วอาจารย์ให้บอกว่าเพลง เกาะสมุย ที่ฟังไปมีเนื้อว่าอย่างไร มีความหมายอย่างไร เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เป็นต้น และอาจารย์ยังสอนเกี่ยวกับการทำหนังสือภาพสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อฝึกการพัฒนาตามลำดับขั้นของเด็ก ให้จับกลุ่มๆละ 6 คน ทำหนังสือภาพในหน่วยที่เราจะทำ ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้คิดหน่วยเกี่ยวกับผัก หัวข้อเรื่อง .. หน้าผักเป็นอย่างไร.. แล้วออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่าหัวข้อเรื่องไม่ค่อยสอดคล้องกับเนื้อหาข้างในของหนังสือ ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็ได้แก้ไขตามที่อาจารย์บอกคะ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการฝึกการสอนและการการปฏิบัติได้จริงคะ ว่าถ้าเราจะสอนเด็กปฐมวัยในแต่ละวันเราต้องมีการเตรียมแผนการสอนอย่างไร แล้วก่อนจะเข้าสู่บทเรียนเราจะมีวิธีัการอย่างไรให้เด็กๆสนใจ อยากรู้สิ่งที่เรากำลังจะสอนอาจจะเป็นการเข้าสู่บทเรียนด้วยเพลงหรือนิทานก็ได้ แล้วเราจะมีวิธีเชื่อมโยงอย่างไรให้เข้าสู่บทเรียนที่เรากำลังจะสอนให้ดีคะ

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20 น.

สัปดาห์ที่ 6  19/07/56
 ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ตรวจดู Blogger ของนักศึกษาแต่ละคนและแนะนำสิ่งที่ขาดหายไปในส่่วนของ  Blogger ว่าควรเพิ่มเติมอะไรบ้าง แบบไหนที่ไม่ควรนำมาใส่ เช่น สีของพื้นหลัง เป็นต้น และอาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาแต่ละคนหาเพลงกล่อมเด็กของภาคที่ตนเองอยู่ แล้วเอามาร้องให้เพื่อนฟังในสัปดาห์หน้าค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ตอนเช้า เวลา 08.30-12.20 น.

สัปดาห์ที่ 5  12/07/56
  ในคาบนี้อาจารย์ให้ออกรายงานหน้าชั้นเรียนซึ่งกลุ่มที่รายงานคือ
กลุ่มที่ 3 เรื่อง พัฒนาการด้านสติปัญญาแรกเิกิดถึง 2 ปี
กลุ่มที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย อายุ 2-4 ปี
กลุ่มที่ 5 เรื่อง พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
- ทฤษฎีสภาวะติดตัวโดยกำเนิด The Nativist View
กลุ่มที่ 6 เรื่อง ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ 
- ทฤษฎีการรับรู้ความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง
- ทฤษฎีการรับรู้ความรู้ความเข้าใจ
กลุ่มที่ 7 เรื่องวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
- การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดของไฮลโคป
- การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดของเรกจิโอเอมีเรีย
- การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดของมอนเตสเซอรี่
- การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามการเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติแบบองค์รวม
กลุ่มที่ 8 เรื่อง การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
- จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
 - ต้องมีโอกาสพูดคุย อ่าน เขียนและฟัง
 - เด็กต้องมีความพึงพอใจและสนุกสนาน
 - ต้องจัดอยู่ในสภาพแวดล้อมที่พร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ
และอาจารย์ให้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็ก คือ ใ้ห้เพื่อนๆได้ทำกิจกรรมที่ให้เด็กได้ใช้ภาษาคือ การพูด การฟัง การเล่า และรวมไปถึงการคิด ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษามากขึ้นอีกด้วย สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน คือ สามารถไปจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนให้แก่เด็กได้ด้วยวิธีการที่อาจารย์สอน เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาทางด้านภาษามากขึ้นคะ

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่ 4  5/07/56
การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกนำเสนองานหน้าชั้นเรียน 
ซึ่งกลุ่มที่ 1 ได้นำเสนอ เรื่อง ความหมายของภาษา คือ 
ความสำคัญของภาษา : ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารของมนุษย์และยังเป็นสิ่งที่ช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันกัน นอกจากนี้ภาษายังเป็นวัฒนธรรมและเป็นศิลปะที่มีความงดงามอย่างหนึ่งของมนุษย์อีกด้วย และภาษายังมีระบบกฎเกณฑ์ ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้
กลุ่มที่ 2 ได้นำเสนอ เรื่อง ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
โครงสร้างทางสติปัญญา Schema เป็นการทำงานของระบบประสาท ทำให้เกิดการคิด การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา "การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม" เพียเจต์และบรูเนอร์มีการแบ่งขั้นการเรียนรู้และเน้นความสำคัญที่คล้ายๆกัน เพียเจท์ : ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด ขั้นปฏิบัติการด้านการคิดเป็นรูปธรรม ขั้นปฏิบัติการด้ารการคิดเป็นนามธรรม
บรูเนอร์ : ขั้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ  ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ ขั้นการเรียนรู้ด้วยสุญลักษณ์ 
กลุ่มที่ 5  เรื่อง พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
เด็กวัยนี้สามารถที่จะวาดภาพพจน์ในใจได้ การใช้ความคิดคำนึงหรือการสร้างจินตนาการและการประดิษฐ์ เป็นลักษณะพิเศษของเด็กในวัยนี้ ถ้าครูส่งเสริมให้เด็กใช้การคิดประดิษฐ์ในการเล่าเรื่องหรือการวาดภาพก็จะช่วยพัฒนาการด้านนี้ของเด็กได้
กลุ่มที่ 10 เรื่อง หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษา
การเขียน : ทิศทางการเขียน, การอ่าน : ความรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ, การฟัง : การได้ยินและจับใจความ, การพูด : สนทนาข่าวและเหตุการณ์
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการประกอบการเรียนการสอนได้ เพราะเราได้ศึกษาและได้แนวทางเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมากขึ้น ทำให้ดิฉันมีความรู้มากขึ้นกว่าเดิม และดิฉันจะนำความรู้ที่ได้จากวัีนนี้ไปใช้ในการประกอบการเรียนการสอนของดิฉันคะ

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่ 3  28/06/56
 ไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้ เนื่องเข้าร่วมมีกิจกรรมการรับน้องของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจำปี 2556 ซึ่งดิฉันได้เข้าร่วมกิจกรรมการรับน้อง ทำให้ดิฉันได้เห็นความรัก ความผูกพัน ความสามัคคี ที่น้องมีต่อพี่ และ พี่มีต่อน้อง กิจกรรมการรับน้องในวันนี้สนุกสนานากๆคะ 

                                                         กิจกรรมการรับน้อง 28/06/56

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม








วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่ 2  21/06/56
   การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 4 คน แล้วมาเอาหัีวข้องานที่อาจารย์เพื่อไปทำเป็นการนำเสนอ Power point ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้กลุ่มที่ 4 หัวข้อเรื่อง พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยอายุ 2-4 ปี แล้วจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาไปหาข้อมูลเพื่อที่จะมาทำเป็นรายงาน ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ไปหาข้อมูลที่โรงเรียนอนุบาลคหกรรมเกษตรศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แล้วเก็บข้อมูลมาเรียบเรียงเพื่อนำมาเสนอในหน้าชั้นเรียนคะ


โรงเรียนอนุบาลคหกรรมเกษตรศาสตร์  อนุบาล 2/3

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่ 1  14/06/56
 การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้สอนวิธีการทำ Blogger ซึ่งใช้เพื่อในการส่งงานของวิชาการจัดการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ทำแบบอย่างให้และให้ดูผลงานของรุ่นพี่ ซึ่งทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ถึงการทำ Blogger ว่าในโลกสังคมออนไลน์ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ที่เราจะต้องศึกษา แต่ยังมีอีกมากมายที่เราจะต้องเรียนรู้เพื่อให้เราเป็นคนที่ทันต่อโลกในยุคปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้ในการประกอบการเรียนกรเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีคะ