.

.

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่ 16 27/09/56
 ในสัปดาห์นี้เป็นการเรียนสัปดาห์สุดท้ายของวิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย อ.โบว์ จึงให้นักศึกษาทุกคนทำ มายแมพ สรุปองค์ความรู้ของวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยว่า ได้ความรู้อะไรบ้าง 
- ทำให้รู้การจัดมุมประสบการณ์ทางภาษาที่สนันสนุนการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะทางภาษา เช่น มุมหนังสือ  มุมบทบาทสมมุติ  มุมศิลปะ  มุมดนตรี เป็นต้น
- ทำให้รู้ถึงการจัดลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา เช่น มีพื้นที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่เพียงพอ  บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์ เช่น ดินสอ สี กาว กระดาษ
- ทำให้รู้ถึงหลักการและความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก คือ ส่งเสริมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง
- ทำให้รู้ถึงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับกาใช้ภาษาอย่างมีความหมาย โดย เน้นสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก 

สรุปองค์ความรู้ วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

วันศุกร์ตอนเช้า เวลา08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่15 20/09/56
ในสัปดาห์นี้ อ.โบว์ ให้นักศึกษาดูวิดีโอโทรทัศน์ครู ที่เกี่ยวกับการวางแผนจัดประกบการณ์ทางภาษาให้แก่เด็กปฐมวัย ของ ดร.วรนาท รักสกุลไทย แล้วจากนั้น อ.โบว์ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ช่วยกันระดมความคิดให้ทำแผนการจัดประสบการณ์มาคนละ 1 เรื่อง ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ทำเรื่อง ดอกทานตะวัน จุดประสงค์เพื่อให้เด็กได้รู้จักส่วนต่างๆของดอกทานตะวัน 


แผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง ดอกทานตะวันแสนสวย




วันศุกร์ตอนเช้า เวลา 08.30-12.20 น.

สัปดาห์ที่ 14 13/09/56
ในสัปดาห์นี้ อ.โบว์ ได้ให้ดูเกี่ยวกับการจัดมุมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของต่างประเทศและไทย ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เช่น มุมหนังสือ มุมศิลปะ มุมบทบาทสมมุติ เป็นต้น และในชั่วโมง อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน คิดมุมการเรียนรู้ที่สอนทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมาแล้วออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้คิดมุมการเรียนรู้ 2 มุม คือ มุมศิลปะและมุมภาษาอังกฤษ

ภาพการคิดมุมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

      เหตุผลที่ทำมุมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษก็อยากจะให้เด็กๆได้รู้ถึงคำศัพท์ของภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่าเด็กในวัยนี้ยังอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก แต่เด็กก็สามารถจำภาพได้ ซึ่งเมื่อเด็กได้เห็นภาพบ่ิอยๆเด็กก็จะสามารถจำคำศัพท์ได้และรู้ว่าภาพแบบนี้ภาษาอังกฤษเขียนอย่างนี้
      ส่วนมุมศิลปะก็เพื่อส่งเสริมทักษะของเด็กคือ การพูดคุยสนทนากันระหว่างตัวเด็กกับเด็ก เช่น การเล่านิทานกันเอง การเล่นบทบาทสมมุติ และ การพูดคุยสนทนาระหว่างเด็กกับครู เช่น ครูอาจจะเล่านิทานให้เด็กฟัง แต่ทุกมุมการเรียนรู้ต้องให้เด็กได้มีส่วนรวมในการทำกิจกรรมทุกครั้ง

วันศุกร์เช้า เวลา 08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่ 13 6/09/56
  ในสัปดาห์นี้ อ.โบว์ สอนเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และ หลักการความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อม มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา เช่น
-มุมหนังสือ : มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆ มีพื้นที่ในการอ่านลำพังและเป็นกลุ่ม
-มุมบทบาทสมมุติ : มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้ มีพื้นที่เพียงพอ
-มุมศิลปะ : จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น ดินสอ สี กรรไกร กาว
-มุมดนตรี : มีเครื่องดนตรีที่เป็นของเล่นและของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง 
และในท้ายชั่วโมง อ.โบว์ ให้นักศึกษาทุกคน คัดลายมือ ก-ฮ ตามแบบที่ให้มา เพื่อฝึกให้เราเขียนภาษาไทยได้ถูกต้องและสวยงาม เพราะการที่เราจะเป็นครูปฐมวัยต้องมีลายมือที่สวยงามเพื่อสะดวกต่อการที่เด็กได้จดจำและเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องให้แก่้เด็กอีกด้วยคะ

คัดไทย ก-ฮ 


วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์เช้า 08.30-12.20 น.

สัปดาห์ที่ 12 30/08/56
ในสัปดาห์นี้อ.โบว์ ได้สอนการทำสื่อที่สอนเด็กอนุบาล โดยเน้นพัฒนาการทางด้านภาษา แล้วจับกลุ่มๆละ 6-7 คน ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ทำ          เกมถอดรหัสคำ 


ซึ่งเกมการถอดรหัสคำนี้จะเชื่อมโยงกับทฤษฎีของบรูเนอร์ คือ การเรียนรู้จากความคิด Iconic Stage การที่เด็กสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้ เด็กได้สามารถฝึกการพูดออกมาเป็นคำๆ คำหนึ่งมารวมกับอีกคำหนึ่งก็จะกลายเป้นคำใหม่เกิดขึ้นมา ความหมายก็จะต่า่งกันไป
ประโยชน์การนำไปใช้
1.ฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต
2.ฝึกให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะทางภาษา โดยการเชื่อมคำจากภาพ
3.ฝึกให้เด็กรู้จักคิดและการเชื่อมโยง แล้วจึงเกิดเปนคำใหม่
วิธีการเล่น 
1.เหมา้ะสำหรับเด็ก อายุ 4-6 ปี
2.ควรมีผู้ใหญ่ให้คำแนะนำถึงวิธีการเล่นของเกทถอดรหัสคำ
3.นำภาพแต่ละภาพมาวางต่อกันเพื่อให้เกิดคำใหม่
4.ควรให้เด็กได้ท่องจำหรือฝึกการเขียนตามรอยปะ 

วันศุกร์เช้า 08.30-12.20

สัปดาห์ที่11 23/08/56
ในสัปดาห์นี้ อ.โบว์ สอนเรื่องสื่อการเรียนรู้ทางภาษา คือ ประเภทของสื่อการสอน
1.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น บัตรคำ บัตรภาพ หนังสือนิทาน เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
2.สื่อวัสดุึอุปกรณ์ เช่น สิ่งของต่างๆ ของจริง หุ่นจำลอง 
3.สื่อโสตทัศนูปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ วิทยุ แทปแล็ต 
4.สื่อกิจกรรม เช่น โดมิโน ต่อจิ๊กซอ เกม เพลง 
5.สื่อบริบท เช่น สภาพแวดล้อม ห้องเรียน ชุมชน 
แล้่วอาจารยืให้ฟังเสียงสัตว์ต่างๆแล้วทายว่าเสียงนั้นคือสัตว์อะไร ได้แก่ แมว ไก่ วัว ม้า เป็ด แพะ 
ในทายชั่วโมงอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรม คือ ปฏิทินคำศัพท์
ปฏิทินคำศัพท์ 

เป็นสื่่อที่ช่วยพัฒนาการของเด็กทางด้านสติปัญญาและทางด้านภาษา ให้เด็กได้รู้จักท่องจำคำศัพท์

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20 น.

สัปดาห์ที่ 10 16/8/56
 ในสัปดาห์นี้อาจารย์ประจำวิชาให้อาจารย์พิเศษมาสื่อแทน ซึ่งอาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน  แล้วทำสื่อ  สื่อที่มำในวันนี้คือ หุ่นนิ้วมือ  ป๊อบอั๊บ  ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับเรื่องของประเทศในอาเซียนเพื่อให้เด็กๆได้รู้จัก 10 ประเทศในอาเซียนคะ

ภาพกิจกรรมทำสื่อ หุ่นนิ้วมือ กับ ป๊อบอั๊บ 








 ความรู้ที่ได้ในวันนี้ คือ ได้ความรู้จากการทำสื่อ หุ่นนิ้วมือ และ การทำป๊อบอั๊บ มีวิธีการทำที่หลากหลาย ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการทำสื่อ สามารถไปใช้ในชีวิตประจำวันใรการสอนเด็กปฐมวัย เล่านิทาน บอกถึงธงชาติของ 10 ประเทศอาเซียน หรือแม้กระทั่งนำไปสอนน้องๆหลานๆที่บ้านได้เพื่อสร้างความรักความผูกพันให้กับคนในครอบครัวได้อีกด้วยคะ และยังเป็นงานเสริมยามว่างได้คะ สามารถทำจำหน่ายได้คะ 

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20 น.

สัปดาห์ที่ 9 8/8/56
ในสัปดาห์นี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเพลงกล่อมเด็กของปฐมวัยว่ามีเพลงอะไรบ้าง ร้องอย่างไร เช่น
เพลง ตบแผละ
ตบแผละ  ตบแผละ  ตบแผละ
ปากใจตรงกันนั้นแหละ
เรามาลองฝึกกัน
จิต กาย สัมพันธ์กับปากตบแผละ
เพลง สวัสดี
สวัสดี สวัสดี       ยินดีที่พบกัน
เธอและฉัน          พบกันสวัสดี
เราอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อเพลงได้ แต่ใช้ท่วงทำนองเหมือนกัน เช่น
มินการาบา มินการาบา      ยินดีที่พบกัน
เธอและฉัน                         พบกันมินการาบา
 เพลง ตา หู จมูก
                ตา  หู  จมูก  จับให้ถูก           จับ  จมูก  ตา  หู
               จับใหม่จับให้ฉันดู                 จับใหม่จับให้ฉันดู
               จับ  จมูก  ตา  หู                   จับ  หู  ตา  จมูก


ซึ่งจะทำให้เด็กได้รู้จักการทักทายของประเทศต่างๆคะ  พร้อมทั้งมีท่าประกอบเพลงด้วยเพื่อให้เพลงมีความสนุกสนานมากขึ้นและเมื่อเวลานำไปสอนเด็กปฐมวัย เด็กๆจะได้ไม่เบื่อคะ
 อาจารย์สอนสื่อ คือ การถอดรหัสคำ
ดอก 

สระ

เพื่อฝึกพัฒนาการของเด็กให้มีการคิดที่เร็ว สามารถเชื่อมโยงคำกับรูปภาพได้
และอาจารย์ตรวจ blogger ของแต่ละคนว่าต้องปรับปรุงแก้ไขส่วนไหนบ้างค่ะ
อาจารย์ให้งานไป คือ แปลงเพลง กับถอดรหัสคำ 
เพลง ลูกเป็ด 
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ     ลูกเป็ดอาบน้ำในคลอง       ตาก็จ้องแลมอง       เพราะในคลองมีหอยปูปลา
แปลงเพลง 
กุ๊ก กุ๊ก กุ๊ก           แม่ไก่ลุกขึ้นจากรัง               ขุ้ยเขี่ยอยู่เพียงลำพัง     ลูกออกจากรังวิ่งมาหาแม่ไก่
ถอดรหัสคำ
 น้ำ = น้ำปลา

กา  =  ปากกา

น =  เรือน

ต้น  = ต้นไม้


ดวง = ดวงตา











วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20 น.

สัปดาห์ที่ 8 2/8/56
                      สอบกลางภาคคะ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่ 7  26/07/56
ในสัปดาห์ที่อาจารย์ได้ออกไปร้องเพลงของแต่ละภาคที่นักศึกษาเตรียมมา ซึ่งดิฉันเป็นตัวแทนของภาคกลาง คือ
 เพลง นอนไปเถิด
นอนไปเถิดแม่จะกล่อม      นวลละม่อมแม่จะไกว
ทองคำแม่อย่าร่ำไห้           สายสุดใจเจ้าแม่เอย
และอาจารย์ให้ฟังเพลง เกาะสมุย แล้วเชื่อมโยงไปในบทเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านภาษาและสติปัญญาของเด็กปฐมวัยว่า ในช่วงอายุเท่าไหร่ๆจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร สังเกตได้จากพฤติกรรมของเด็ก แล้วอาจารย์ให้บอกว่าเพลง เกาะสมุย ที่ฟังไปมีเนื้อว่าอย่างไร มีความหมายอย่างไร เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เป็นต้น และอาจารย์ยังสอนเกี่ยวกับการทำหนังสือภาพสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อฝึกการพัฒนาตามลำดับขั้นของเด็ก ให้จับกลุ่มๆละ 6 คน ทำหนังสือภาพในหน่วยที่เราจะทำ ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้คิดหน่วยเกี่ยวกับผัก หัวข้อเรื่อง .. หน้าผักเป็นอย่างไร.. แล้วออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่าหัวข้อเรื่องไม่ค่อยสอดคล้องกับเนื้อหาข้างในของหนังสือ ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็ได้แก้ไขตามที่อาจารย์บอกคะ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการฝึกการสอนและการการปฏิบัติได้จริงคะ ว่าถ้าเราจะสอนเด็กปฐมวัยในแต่ละวันเราต้องมีการเตรียมแผนการสอนอย่างไร แล้วก่อนจะเข้าสู่บทเรียนเราจะมีวิธีัการอย่างไรให้เด็กๆสนใจ อยากรู้สิ่งที่เรากำลังจะสอนอาจจะเป็นการเข้าสู่บทเรียนด้วยเพลงหรือนิทานก็ได้ แล้วเราจะมีวิธีเชื่อมโยงอย่างไรให้เข้าสู่บทเรียนที่เรากำลังจะสอนให้ดีคะ

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20 น.

สัปดาห์ที่ 6  19/07/56
 ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ตรวจดู Blogger ของนักศึกษาแต่ละคนและแนะนำสิ่งที่ขาดหายไปในส่่วนของ  Blogger ว่าควรเพิ่มเติมอะไรบ้าง แบบไหนที่ไม่ควรนำมาใส่ เช่น สีของพื้นหลัง เป็นต้น และอาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาแต่ละคนหาเพลงกล่อมเด็กของภาคที่ตนเองอยู่ แล้วเอามาร้องให้เพื่อนฟังในสัปดาห์หน้าค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ตอนเช้า เวลา 08.30-12.20 น.

สัปดาห์ที่ 5  12/07/56
  ในคาบนี้อาจารย์ให้ออกรายงานหน้าชั้นเรียนซึ่งกลุ่มที่รายงานคือ
กลุ่มที่ 3 เรื่อง พัฒนาการด้านสติปัญญาแรกเิกิดถึง 2 ปี
กลุ่มที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย อายุ 2-4 ปี
กลุ่มที่ 5 เรื่อง พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
- ทฤษฎีสภาวะติดตัวโดยกำเนิด The Nativist View
กลุ่มที่ 6 เรื่อง ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ 
- ทฤษฎีการรับรู้ความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง
- ทฤษฎีการรับรู้ความรู้ความเข้าใจ
กลุ่มที่ 7 เรื่องวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
- การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดของไฮลโคป
- การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดของเรกจิโอเอมีเรีย
- การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดของมอนเตสเซอรี่
- การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามการเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติแบบองค์รวม
กลุ่มที่ 8 เรื่อง การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
- จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
 - ต้องมีโอกาสพูดคุย อ่าน เขียนและฟัง
 - เด็กต้องมีความพึงพอใจและสนุกสนาน
 - ต้องจัดอยู่ในสภาพแวดล้อมที่พร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ
และอาจารย์ให้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็ก คือ ใ้ห้เพื่อนๆได้ทำกิจกรรมที่ให้เด็กได้ใช้ภาษาคือ การพูด การฟัง การเล่า และรวมไปถึงการคิด ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษามากขึ้นอีกด้วย สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน คือ สามารถไปจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนให้แก่เด็กได้ด้วยวิธีการที่อาจารย์สอน เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาทางด้านภาษามากขึ้นคะ

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่ 4  5/07/56
การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกนำเสนองานหน้าชั้นเรียน 
ซึ่งกลุ่มที่ 1 ได้นำเสนอ เรื่อง ความหมายของภาษา คือ 
ความสำคัญของภาษา : ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารของมนุษย์และยังเป็นสิ่งที่ช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันกัน นอกจากนี้ภาษายังเป็นวัฒนธรรมและเป็นศิลปะที่มีความงดงามอย่างหนึ่งของมนุษย์อีกด้วย และภาษายังมีระบบกฎเกณฑ์ ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้
กลุ่มที่ 2 ได้นำเสนอ เรื่อง ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
โครงสร้างทางสติปัญญา Schema เป็นการทำงานของระบบประสาท ทำให้เกิดการคิด การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา "การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม" เพียเจต์และบรูเนอร์มีการแบ่งขั้นการเรียนรู้และเน้นความสำคัญที่คล้ายๆกัน เพียเจท์ : ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด ขั้นปฏิบัติการด้านการคิดเป็นรูปธรรม ขั้นปฏิบัติการด้ารการคิดเป็นนามธรรม
บรูเนอร์ : ขั้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ  ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ ขั้นการเรียนรู้ด้วยสุญลักษณ์ 
กลุ่มที่ 5  เรื่อง พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
เด็กวัยนี้สามารถที่จะวาดภาพพจน์ในใจได้ การใช้ความคิดคำนึงหรือการสร้างจินตนาการและการประดิษฐ์ เป็นลักษณะพิเศษของเด็กในวัยนี้ ถ้าครูส่งเสริมให้เด็กใช้การคิดประดิษฐ์ในการเล่าเรื่องหรือการวาดภาพก็จะช่วยพัฒนาการด้านนี้ของเด็กได้
กลุ่มที่ 10 เรื่อง หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษา
การเขียน : ทิศทางการเขียน, การอ่าน : ความรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ, การฟัง : การได้ยินและจับใจความ, การพูด : สนทนาข่าวและเหตุการณ์
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการประกอบการเรียนการสอนได้ เพราะเราได้ศึกษาและได้แนวทางเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมากขึ้น ทำให้ดิฉันมีความรู้มากขึ้นกว่าเดิม และดิฉันจะนำความรู้ที่ได้จากวัีนนี้ไปใช้ในการประกอบการเรียนการสอนของดิฉันคะ

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่ 3  28/06/56
 ไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้ เนื่องเข้าร่วมมีกิจกรรมการรับน้องของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจำปี 2556 ซึ่งดิฉันได้เข้าร่วมกิจกรรมการรับน้อง ทำให้ดิฉันได้เห็นความรัก ความผูกพัน ความสามัคคี ที่น้องมีต่อพี่ และ พี่มีต่อน้อง กิจกรรมการรับน้องในวันนี้สนุกสนานากๆคะ 

                                                         กิจกรรมการรับน้อง 28/06/56

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม








วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่ 2  21/06/56
   การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 4 คน แล้วมาเอาหัีวข้องานที่อาจารย์เพื่อไปทำเป็นการนำเสนอ Power point ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้กลุ่มที่ 4 หัวข้อเรื่อง พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยอายุ 2-4 ปี แล้วจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาไปหาข้อมูลเพื่อที่จะมาทำเป็นรายงาน ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ไปหาข้อมูลที่โรงเรียนอนุบาลคหกรรมเกษตรศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แล้วเก็บข้อมูลมาเรียบเรียงเพื่อนำมาเสนอในหน้าชั้นเรียนคะ


โรงเรียนอนุบาลคหกรรมเกษตรศาสตร์  อนุบาล 2/3

วันศุกร์ตอนเช้า 08.30-12.20น.

สัปดาห์ที่ 1  14/06/56
 การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้สอนวิธีการทำ Blogger ซึ่งใช้เพื่อในการส่งงานของวิชาการจัดการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ทำแบบอย่างให้และให้ดูผลงานของรุ่นพี่ ซึ่งทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ถึงการทำ Blogger ว่าในโลกสังคมออนไลน์ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ที่เราจะต้องศึกษา แต่ยังมีอีกมากมายที่เราจะต้องเรียนรู้เพื่อให้เราเป็นคนที่ทันต่อโลกในยุคปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้ในการประกอบการเรียนกรเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีคะ